ประวัติ ศ.ดร. สาโรธ บัวศรี
ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เกิดที่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.2459 เป็นบุตรคนโตของขุนประทุมสิริพันธ์ (เจริญ บัวศรี) และนางเปล่ง บัวศรี มีพี่น้อง 5 คน คือ สาโรช สารี สว่าง จำนง จงดี เป็นชาย 2 คน คือ สาโรช และ จำนง สมรสกับ อาจารย์ศิรี ศิริจรรยา ในวันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม 2495
การศึกษา
ท่านเรียนหนังสือที่จังหวัดภูเก็ตทั้งชั้นประถมและมัธยมจนจบมัธยมปีที่ 6 เมื่ออายุเพียง 13 ปี เพราะได้เรียนข้ามขั้นบ่อย ๆ สมัยโน้นการเดินทางจากเกาะภูเก็ตมากรุงเทพฯ ลำบากมาก บิดาจึงส่งไปเรียนที่ปีนังซึ่งอยู่ใกล้กว่า เดินทางโดยเรือคืนหนึ่งก็ถึงโรงเรียนที่ป ีนัง ชื่อ The Anglo-Chinese Boys School หรือ Anglo-Chinese School
พ.ศ. 2478 สอบเข้าเรียนคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่ 1 สำเร็จปริญญาตรี พ.ศ. 2481 ได้ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต
(อ.บ.) และเรียนวิชาครูต่อ ได้ ป.ม. ในปี พ.ศ. 2482
เมื่อเรียนจบอายุได้ 23 ปี เข้าสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สอนอยู่ได้ปีเศษ กรมวิสามัญศึกษาส่งไปเป็นอาจารย์ใหญ่อยู่ที่ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ประมาณ 6 ปี ย้ายมาเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนครได้ประมาณ 3-4 เดือน ได้รับทุนจากกระทรวงการต่างประเทศอเมริกาไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอเมริกาที่ The Ohio State University ใช้เวลาศึกษาปีเศษ ได้รับปริญญาโท (Master of Arts) ศึกษาต่ออีก 3 ปีเศษ ได้รับปริญญาเอก (Doctor of Philosophy) ได้ศึกษาและสำเร็จการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ.) รุ่นที่ 5 ในปี พ.ศ. 2506
การทำงาน
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ได้ทำงานที่กระทรวงศึกษาธิการ 3 เดือน หลังจากนั้นได้รับตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- 1 มีนาคม 2496 - 31 มีนาคม 2496 เป็นอาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร
- 1 เมษายน 2496 - 30 กันยายน 2496 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูสูง ถนนประสานมิตร และได้เสนอให้ยกมาตรฐานวิชาชีพครู คือให้สอนถึงระดับปริญญา ตรี โท เอก ซึ่งท่านทำได้สำเร็จ กล่าวคือ โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2496 และมีพระราช บัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2497
- 1 ตุลาคม 2496 - 29 กันยายน 2497 เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยวิชาการ
- 30 กันยายน 2497 - 6 มีนาคม 2499 เป็นรองอธิการและหัวหน้าคณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา ม.ล.ปิ่น มาลากุล รักษาการอธิการ
- 25 มกราคม 2498 ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทยคนแรก และได้เป็นนายกสมาคมสองสมัยติดต่อกัน สมาคมนี้ท่านและนักการศึกษาไทยได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนอาชีพครูและเผยแพร่แนวความคิดทางการศึกษา
- 7 มีนาคม 2499 - 1 มกราคม 2512 เป็นอธิการคนแรกของวิทยาลัยวิชาการ
- 2 มกราคม 2512 - 1 ตุลาคม 2513 เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ครั้งที่ 1)
- 2 ตุลาคม 2513 - 31 ธันวาคม 2516 เป็นอธิบดีกรมการฝึกหัดครู
- 1 มกราคม 2517 - 30 กันยายน 2519 เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ครั้งที่ 2)
- 1 มีนาคม 2496 - 31 มีนาคม 2496 เป็นอาจารย์โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร
- 1 เมษายน 2496 - 30 กันยายน 2496 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูสูง ถนนประสานมิตร และได้เสนอให้ยกมาตรฐานวิชาชีพครู คือให้สอนถึงระดับปริญญา ตรี โท เอก ซึ่งท่านทำได้สำเร็จ กล่าวคือ โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2496 และมีพระราช บัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2497
- 1 ตุลาคม 2496 - 29 กันยายน 2497 เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยวิชาการ
- 30 กันยายน 2497 - 6 มีนาคม 2499 เป็นรองอธิการและหัวหน้าคณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา ม.ล.ปิ่น มาลากุล รักษาการอธิการ
- 25 มกราคม 2498 ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทยคนแรก และได้เป็นนายกสมาคมสองสมัยติดต่อกัน สมาคมนี้ท่านและนักการศึกษาไทยได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนอาชีพครูและเผยแพร่แนวความคิดทางการศึกษา
- 7 มีนาคม 2499 - 1 มกราคม 2512 เป็นอธิการคนแรกของวิทยาลัยวิชาการ
- 2 มกราคม 2512 - 1 ตุลาคม 2513 เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ครั้งที่ 1)
- 2 ตุลาคม 2513 - 31 ธันวาคม 2516 เป็นอธิบดีกรมการฝึกหัดครู
- 1 มกราคม 2517 - 30 กันยายน 2519 เป็นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ครั้งที่ 2)
บทบาทของศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
1. ทำให้มีการสอนจนถึงระดับปริญญาตรี โท เอก แก่ผู้เรียนสายครูและศึกษาธิการ
2. จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) เพื่อยกระดับวิชาชีพ ด้านการศึกษาให้มีปริญญา
3. จัดตั้งสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
4. เผยแพร่แนวความคิดทางการศึกษาแผนใหม่อย่างต่อเนื่องและจริงจัง
5. นำการศึกษาแผนใหม่มาใช้ คือ แบบพิพัฒนาการ (Progressive Education)
6. คิดตราและสีของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งปัจจุบันเป็นตราและสีของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตรา เป็นสัญลักษณ์เชิงปรัชญาการศึกษาแผนใหม่ การศึกษา คือ การงอกงาม งอกงามไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันจบสิ้น ถ้าเป็นทางการกระทำ แปลว่าเราจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเพื่อว่าผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นอย่างไม่มีสิ้นสุดเหมือนกัน สีเทาแดง สีเทาเป็นสีของสมอง แสดงถึงความคิด ความฉลาดเฉลียว สีแดงเป็นสีของเลือด แสดงถึงความกล้าหาญ รวมกันแล้วมีความหมายว่า (ให้นิสิต) เป็นคนกล้าคิด กล้าหาญ และฉลาดเฉลียว
7. ริเริ่มสร้างและเผยแพร่ปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ วิธีสอนตามขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ ฯลฯ
8. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านจริยธรรมศึกษาและวัฒนธรรม ด้วยการเขียนและบรรยายเรื่องจริยธรรมศึกษา การศึกษาและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นแนวความคิดของท่านเอง
9. เขียนหนังสือ บทความ งานแปล และบรรยายจำนวนมาก เช่น
แนวคิดในการบริหารการศึกษา (หนังสือ) ความหมายของคำว่าประชาธิปไตยในแง่ของการศึกษา (บทความ) ปัญหาการศึกษาของโลก World Problems in Education (แปลจากหนังสือเล่มสำคัญขององค์การ International Bureau of Education, UNESCO เขียนโดย Jean Thomas)
2. จัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) เพื่อยกระดับวิชาชีพ ด้านการศึกษาให้มีปริญญา
3. จัดตั้งสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
4. เผยแพร่แนวความคิดทางการศึกษาแผนใหม่อย่างต่อเนื่องและจริงจัง
5. นำการศึกษาแผนใหม่มาใช้ คือ แบบพิพัฒนาการ (Progressive Education)
6. คิดตราและสีของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งปัจจุบันเป็นตราและสีของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตรา เป็นสัญลักษณ์เชิงปรัชญาการศึกษาแผนใหม่ การศึกษา คือ การงอกงาม งอกงามไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันจบสิ้น ถ้าเป็นทางการกระทำ แปลว่าเราจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเพื่อว่าผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นอย่างไม่มีสิ้นสุดเหมือนกัน สีเทาแดง สีเทาเป็นสีของสมอง แสดงถึงความคิด ความฉลาดเฉลียว สีแดงเป็นสีของเลือด แสดงถึงความกล้าหาญ รวมกันแล้วมีความหมายว่า (ให้นิสิต) เป็นคนกล้าคิด กล้าหาญ และฉลาดเฉลียว
7. ริเริ่มสร้างและเผยแพร่ปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ วิธีสอนตามขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ ฯลฯ
8. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านจริยธรรมศึกษาและวัฒนธรรม ด้วยการเขียนและบรรยายเรื่องจริยธรรมศึกษา การศึกษาและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นแนวความคิดของท่านเอง
9. เขียนหนังสือ บทความ งานแปล และบรรยายจำนวนมาก เช่น
แนวคิดในการบริหารการศึกษา (หนังสือ) ความหมายของคำว่าประชาธิปไตยในแง่ของการศึกษา (บทความ) ปัญหาการศึกษาของโลก World Problems in Education (แปลจากหนังสือเล่มสำคัญขององค์การ International Bureau of Education, UNESCO เขียนโดย Jean Thomas)
สิ่งที่ประทับใจ
ท่านเป็นคนที่ทีความมุ่งมั่นในการเรียนมาก สามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการดำรงชีวิตได้ และท่านยังเป็นคนที่จิตวิญญาณความเป็นครูอย่างเต็มเปี่ยม ถึงท่านเกษียณอายุราชการไปแล้วท่านก็ไม่ทิ้งงานของท่าน จนท่านได้รับโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติคุณในฐาน
“ผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่งต่อการศึกษาของชาติ”
ที่มา : "ดร. สาโรช บัวศรี.". [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก:http://www.swuaa.com/webnew/index.php?option