วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

 
 1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด            ไม่เหมาะสมค่ะเช่น พฤติกรรมการบริโภคเพราะการบริโภคของมนุษย์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจาก ในอดีตเนื่องจากในอดีตเป็นการบริโภคอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อความอยู่ รอดหรือประทังชีวิตไปเป็นการบริโภคแบบตามความชอบของตัวเองตามกำลังทรัพย์ หรือฐานะเพราะมีอาหารให้เลือกมากขึ้นมีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารของประเทศใน ปัจจุบันมีการขยายตัวเพื่อนผลิตอาหารหารตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่วนทางด้านสุขภาพ ก็มีความไม่เหมาะสมบ้าง เช่น
1.อาหาร
2.หลีกเลี่ยงการออกแรง
3.ขาดการออกกำลังกาย
4.ความเครียด
5.การควบคุมอารมณ์
6.สิ่งแวดล้อมในการทำงาน
7.สิ่งแวดล้อมที่บ้าน
8.การพักผ่อน
2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)               น้อย ในปัจจุบันนั้นการออกกำลังกายของเด็กไทยนั้นค่อนข้างจะน้อยมาก มีบางส่วนที่ได้ออกกำลังกายบ้างในตอนเย็น เช่น การแตะฟุตบอลกับเพื่อนๆ เล่นแบดบินตัน ว่ายน้ำ นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น แต่ปัจจัยหลักก็มีอยู่หลายอย่าง
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) 
            เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว  การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้ พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวร ไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ  นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การที่โรงเรียนให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กพอๆกับการส่งเสริมด้านวิชาการนั้นก็เพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และมีการฝึกปฏิบัติที่นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการมีสุขภาพดี  โดยสอดแทรกไว้ทั้งในหลักสูตรการศึกษาและผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
ขั้นแรกครูควรทำแบบสอบถามเพื่อทราบข้อมูลในตัวเด็กแต่ละคนและใช้วิธีการสังเกตุพฤติกรรมในการเรียนในชั้นเรียนและ นอกชั้นเรียนจากนั้นก็มาจำแนกเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เรียนดีส่วนเด็กที่มีปัญหาครอบครัวนั้นครูต้องใช้ความระมัดระวังถึงการทราบถึงข้อมูลเพราะอาจกระทบถึงปมด่อยของนักเรียนได้ อาจใช้วิธีโดยการถามเพื่อนหรือเยี่ยมบ้านโดยไม่เป็นการกระทบต่อตัวนักเรียนโดยตรงจากนั้นก็มาแก้ปัญหาโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยด้วยจากนั้นก็ทำแบบประเมินก่อนและหลังการทำการแก้ไขปัญหาโดยการจัดทำแผนการเรียนให้เหมาะสมกับเด็กส่วนเด็กที่เรียนนั้นครูควรระมัดระวังในการจัดการเรียนการสอนเพราะเด็กจำพวกนี้จะมีความเครียดสูงครูควรจัดบรรยากาศในชั้นเรียนแบบเป็นกันเองกับนักเรียนให้มากที่สุดเพื่อลดความเครียดไม่ควรให้ความสำคัญกับคะแนนมากเกินไปควรทำกิจกรรมแบบบูรณาการและแสดงบทบาทเสริมคุณธรรมรมไปถึงประสบการเพราะเด็กพวกนี้เก่งวิชาการอยู่แล้วและครูยกตัวอย่าง ประกอบในกรณีที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาและให้เขาร่วมวิเคราะห์และแก้ปัญหาตัวเองด้วย
6) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)             เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการดูแลช่วยเหลือเด็กและวิธีการให้เด็กนักเรียนมาช่วยงานก็เป็นวิธีที่ดีมากที่จะให้เด็กได้ใกล้ชิดกับครูหากตัวข้าพเจ้าเป็นครูก็จะนำวิธีนี้ไปปรับใช้เช่นกัน
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา
การควบคุมอารมณ์”)          ไม่มีความจริงจังมากนัก ดิฉันคิดว่าครูจะมีรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาเช่น การให้ฝึกสมาธิก่อนการเรียนการสอน การเข้าค่ายจริยธรรม และอื่นๆ
8)โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
จะมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ  เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็ก  และนำมาประเมินว่าโรงเรียนมีมาตรฐานด้านนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
มี  เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตและประเมินนักเรียนว่ามีภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตเป็นเช่นไร  จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ  สนับสนุน  หรือหาทางแก้ไข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น