วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ

1. Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
    การบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)                       การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล รู้ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนควรมีเครื่องมือ และทักษะในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การทำสังคมมิติ และการศึกษารายกรณี เป็นต้น นอกจากนั้นการควบคุมชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ครูควรให้ความสนใจ หากพบนักเรียนที่ปัญหาครูจะดำเนินการอย่างไร ครูต้องรู้ว่านักเรียนที่สอนอยู่ในวัยใด วัยของเขาสนใจใฝ่รู้อะไร หากครูออกแบบการจัดการเรียนได้สอดคล้องกับแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน และสอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจในการเรียน  เหมือนที่เราชอบเรียนวิชาอะไร  ในช่วงเด็กเพราะเราเราชอบครูใช่หรือไม่
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้  โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
สำหรับในเรื่องนี้ เป็นเรื่องการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องมาจากมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มีรายละเอียด  ดังนี้
                   1.  “ผู้ประกอบวิชาชีพครู”  ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน 12 เรื่อง ดังนี้  (1)  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ  (2)  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน  (3)  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ  (4)  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง  (5)  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ  (6)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน  (7)  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ  (8)  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน  (9)  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์  (11)  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา และ  (12)  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
                                2.   “ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา”  ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน 12 เรื่อง ได้แก่  (1)  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา  (2)  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากรผู้เรียนและชุมชน  (3)  มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ  (4)  พัฒนาแผนงานขององค์การให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง  (5)  พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ  (6)  ปฏิบัติงานขององค์การโดยเน้นผลถาวร  (7)  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ  (8)  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  (9)  ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์  (10)  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา  (11)  เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ  และ  (12)  สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์
                                3.  “ผู้ประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น”  ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
มาตรฐานการปฏิบัติตน
จรรยาบรรณต่อตนเอง
1.           ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องมีวินัยในตนเอง  พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ  บุคลิกภาพ  และวิสัยทัศน์  ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยากร  เศรษฐกิจ  สังคม  และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2.           ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก  ศรัทธา  ซื่อสัตย์สุจริต  และรับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3.           ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก  เมตตา  เอาใจใส่  ช่วยเหลือ  ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และรับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4.   ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้  ทักษะ  และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์  และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5.           ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี   ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
6.           ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา  จิตใจ อารมณ์  และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
7.           ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค  โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8.           ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์  โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนา เศรษฐกิจ  สังคม  ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา  สิ่งแวดล้ม  รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน 

         
1. 1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
2.2.  ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
3.3.  ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
4.4.  ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
5.5.  ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
6.6.   ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
      กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด
4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
    
ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
 
มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวบ่งชี้
1.1 มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย

มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้
2.1 รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.2 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวบ่งชี้
3.1 มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
3.2 เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.3 ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
3.4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.5 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวบ่งชี้
4.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมี การคิดแบบองค์รวม
4.2 สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
4.3 ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ

มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวบ่งชี้
5.1 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.2 มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.3 สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
5.4 สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้
6.1 มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
6.2 สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
6.3 มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมา โรงเรียน
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวบ่งชี้
7.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
7.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
7.3 ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
7.4 มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
7.5 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวบ่งชี้
8.1 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
8.2 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
8.3 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
คุณธรรม  จริยธรรม ที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา   คุณธรรมอันดับแรกที่ควรปลูกฝัง  คือ   ความกตัญญู  ซึ่งควรจะได้แสดงออกทั้ง ทางกาย   ทางวาจา  และ ทางใจ  เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ    ที่แสดงออกมาด้วยความดีงาม  แต่สิ่งเหล่านี้ กำลังถูกทำลาย ด้วย ความ    รีบเร่ง  จากกระแสวัตถุนิยม และบริโภคนิยม  ที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมทางจิตใจ  หากคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจไม่มั่นคง  สิ่งที่แสดงออกมาจากพฤติกรรมของคน ก็ล้วนเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น    การแสดงออกทางกาย   วาจา  ใจ  ที่มีคุณธรรมเป็นที่ตั้งจึงมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลา จิตใจ    ให้มีความอ่อนโยน   สุภาพ นอบน้อม   สุขุม  รอบคอบ   เช่น   การกราบไหว้พระแบบเบญจางคประดิษฐ์  ซึ่งเป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด การวางมือ  การยกมือขึ้น เพื่อให้สติอยู่กับมือ   พนมมือที่น่าอกในท่าอัญชลี   เป็นการสำรวมใจออกจากปัญหา ที่ว้าวุ่น    การยกมือจรดบริเวณหว่างคิ้วในท่าวันทา   เป็นการสำรวมกาย  สำรวมวาจา  สำรวมใจ  กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ  มีความแน่วแน่มั่นคงใน จิตใจ     การก้มกราบ ท่าอภิวาท  เป็นการปล่อยใจให้ว่างลง   สยบยอมทั้งกายและใจให้กับความดี  เป็นการลดอัตตา   ความยึดมั่น  ถือมั่นในตัวเอง  ซึ่งท่าทีเหล่านี้  จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสภาพจิตใจให้ดีงาม การปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักพึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นคนดี มีวินัย  คือ  การปลูกฝังให้นักศึกษาได้มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง และ  รู้จักคุณค่าของตัวเอง  
กิจกรรมการปลูกฝัง คุณธรรม  จริยธรรม  ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
1.ปลูกฝังให้นักเรียน  นักศึกษาไปวัดในวันสำคัญทางศาสนา
2.การปลูกฝัง คุณธรรม  จริยธรรม โดยบูรณาการไว้ในการเรียน      การสอน
3.การสนับสนุนส่งเสริมงานด้านกิจการนักศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
4.ผู้สอนต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
5.การให้รางวัลและการยกย่อง  ชมเชย  นักศึกษาที่ทำความดี  กระทำตนเป็นประโยชน์แก่สังคม
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น